ประวัติความเป็นมาศูนย์เฝ้าระวังฯ
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนกในสัตว์ปีอย่างรุนแรงหลายพื้นที่ของประเทศไทยในปี 2547 และจากแนวโน้มการเกิดโรคอุบัติใหม่ที่มีต้นกำเนิดจากสัตว์โดยเฉพาะสัตว์ป่า และสัตว์อพยพ เช่น โรคไข้สมองอัเสบนิปปาห์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้ร่วมมือกับ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดทำโครงการเฝ้าระวังและติดตามโรคจากสัตว์ป่า สัตว์ต่างถิ่นและสัตว์อพยพ เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและควบคุมการระบาดของโรคไข้หวัดนกและโรคอื่นๆ อันเนื่องมาจากสัตว์ป่า สัตว์ต่างถิ่นและสัตว์อพยพ ซึ่งอาจเป็นพาหะนำโรคที่ก่อให้เกิดความเสียหายดังเช่นที่ผ่านมา โครงการดังกล่าวได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมณตรีแล้วเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2547 ต่อมาในปีงบประมาณ 2548 คณะฯได้จัดตั้ง "ศูนย์เฝ้าระวังและติดตามโรคจากสัตว์ป่า สัตว์ต่างถิ่นและสัตว์อพยพ" ขึ้นเป็นหน่วยงานในสังกัดคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
โดยทำหน้าที่เป็นศูนย์แม่ข่ายในการเฝ้าระวังและเตือนภัย โดยประสานงานกับเครือข่ายภูมิภาคต่างๆมีการคัดเลือกบุคลากรเพื่อปฏิบัติงานประจำศูนย์ฯ และจัดหาครุภัณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ที่มีความจำเป็นเรงด่วนและจัดสร้าง "ห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยระดับ 2.5" สำหรับตรวจหาเชื้อที่มีความรุนแรงระดับปานกลาง และได้ดำเนินการเก็บตัวอย่างตรวจจากนกที่อยู่ตามธรรมชาติและที่อยู่ในพื้นที่ครอบครองของเอกชนมาทำการตรวจวิเคราะห์หาเชื้อโรคอย่างต่อเนื่อง และในปีงบประมาณ 2549 ได้ดำเนินการพัฒนา "ห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยระดับ 3" พร้อมจัดหาครุภัณฑ์และอุปกรณ์ประจำห้อง เพื่อให้มีศักยภาพรองรับการทดลอง ทดสอบ และวิจัยเชื้อโรคไข้หวัดนก และโรคระบาดหรือโรคที่มีความรุนแรงสูงอื่นๆ จากสัตว์ได้ และได้พัฒนาเทคนิคการตรวจหาเชื้อโรคสัตว์ติดคน,โรคอุบัติใหม่ในมนุษย์และในสัตว์ที่ประเทศไทยมีโอกาสเสี่ยง เช่น เชื้อ West Nile virus เชื้อ Psittacines Beak and Feather Disease และ Avian polyoma virus ในนก และเชื้อ Elephent endothelial herpes virus ในช้างเลี้ยง ซึ่งทางศูนย์ฯได้มีการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่องและจัดตั้งเป็นทีมงานทางห้องปฏิบัติการ และทีมสำรวจโรคภาคสนามให้สามารถดำเนินการสำรวจและเฝ้าระวังโรคในพื้นี่เสี่ยงต่างๆอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง
อัตราค่าบริการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฎิบัติการศูนย์เฝ้าระวังฯ(PDF)

