เกี่ยวกับเรา
MoZWE
ศูนย์เฝ้าระวังและติดตามโรคจากสัตว์ป่า สัตว์ต่างถิ่นและสัตว์อพยพ เป็นหน่วยงานภายใต้คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดตั้งขึ้นตามความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2547 เพื่อควบคุมวิกฤตการณ์โรคไข้หวัดนก (Avian Influenza) สายพันธุ์ H5N1 ที่ระบาดในประเทศไทยในเวลานั้น
Monitoring & Surveillance
ศูนย์เฝ้าระวังฯ มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการเฝ้าระวังและควบคุมการระบาดของโรคไข้หวัดนกและโรคระบาดอื่น ๆ ที่อาจก่อให้เกิดโรคระบาด (Epidemic) หรือโรคระบาดใหญ่ (Pandemic) อันเนื่องมาจากสัตว์ป่า สัตว์ต่างถิ่นและสัตว์อพยพทั้งในและนอกพื้นที่ธรรมชาติ รวมทั้งเฝ้าระวังโรคติดต่ออุบัติใหม่จากสัตว์ชนิดต่าง ๆ ทั้งสัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษ ซึ่งอาจเป็นพาหะนำโรคก่อให้เกิดความเสียหายหรือเจ็บป่วยของปศุสัตว์ สัตว์เลี้ยง สัตว์ป่า และประชาชน อีกทั้งยังเป็นห้องปฏิบัติการตรวจวินิจฉัยโรคดังกล่าว
Raising awareness & Preparation
ศูนย์เฝ้าระวังฯ ทำหน้าที่ในการเฝ้าระวังและเตือนภัย ประสานงานกับเครือข่ายหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้ทราบถึงสถานการณ์การระบาดของโรคและผลกระทบจากการระบาดของโรคไข้หวัดนก รวมถึงโรคอุบัติใหม่ (Emerging diseases) ได้ตั้งแต่ระยะต้น อีกทั้งดำเนินการเตือนภัยจากโรคอันมีที่มาจากสัตว์ป่า สัตว์ต่างถิ่น และสัตว์อพยพแก่ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถควบคุมและป้องกันการระบาดของโรคได้อย่างทันท่วงที
ศูนย์เฝ้าระวังฯ มีการดำเนินกิจกรรมที่สนับสนุนการเฝ้าระวังโรคในสัตว์ป่า โดยพัฒนาขีดความสามารถในการตรวจวินิจฉัย กำลังคน ประสานงานเครือข่ายสุขภาพสัตว์ป่า และมีบทบาทในการถ่ายทอดองค์ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านสุขภาพสัตว์ป่าทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงให้ความสำคัญกับการทำงานภายใต้สุขภาพหนึ่งเดียว (One Health)
นอกจากนี้ ยังมีการถ่ายทอดความรู้/การฝึกอบรม แก่สัตวแพทย์ นักศึกษา เจ้าหน้าที่ดูแลสัตว์ เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ เช่น การฝึกอบรมให้ความรู้เรื่องความปลอดภัยทางชีวภาพ การฝึกอบรมการจับบังคับสัตว์ รวมถึงการเป็นวิทยากรในการฝึกอบรมต่าง ๆ
Sustainable Development Goals
ศูนย์เฝ้าระวังฯ ได้มีแนวทางการดำเนินงานที่สอดคล้องกับ Sustainable Development Goals เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ เป้าหมายที่ 15 (SDGs 15) ได้แก่
15.5 ปฏิบัติการที่จำเป็นและเร่งด่วนเพื่อลดการเสื่อมโทรมของถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติ หยุดยั้งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และภายในปี 2563 จะปกป้องและป้องกันการสูญพันธุ์ของชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม
15.9 บูรณาการมูลค่าของระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพเข้าไปสู่การวางแผนกระบวนการพัฒนายุทธศาสตร์การลดความยากจนและบัญชีทั้งระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ ภายในปี 2563
Collaborations
การดำเนินงานและการพัฒนาขีดความสามารถในด้านสุขภาพสัตว์ป่า ทำให้ศูนย์เฝ้าระวังฯ ได้เป็น FAO Reference Centre for Zoonotic and Wildlife Diseases ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 และอยู่ระหว่างการดำเนินงาน World Organisation of Animal Health Twinning Project กับ USGS National Wildlife Health Center (NWHC) และมีหน่วยงานสนับสนุนอื่นในการดำเนินกิจกรรมดังกล่าว ได้แก่ Canadian Wildlife Health Cooperative (CWHC) และ Wildlife Conservation Society (WCS) เพื่อยกระดับให้เป็น WOAH Collaborating Centre for Wildlife Health and Zoonotic Diseases in the Asia-Pacific region ในปี พ.ศ. 2565 ศูนย์เฝ้าระวังฯ ได้รับการเสนอชื่อให้เป็น Secretariat of Southeast Asian Wildlife Heath Network โดย World Organisation for Animal Health (WOAH) อยู่ในวาระ 4 ปี ทำหน้าที่ประสานงานเครือข่ายสุขภาพสัตว์ป่าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย
งานของเรา
Research
การวิจัย
ด้านการวิจัย ศูนย์เฝ้าระวังฯ ดำเนินการโครงการวิจัยและสร้างผลงานวิจัยทางด้านโรคติดเชื้อในสัตว์ป่า สัตว์ต่างถิ่น และสัตว์อพยพ โรคสัตว์สู่คนและโรคอุบัติใหม่
Academic Service
ด้านการบริการวิชาการ
ให้บริการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการสุขภาพสัตว์ และการให้บริการทางการสัตวแพทย์ เช่น การรักษาสัตว์ป่า การเฝ้าระวังโรคระบาดในสัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษ
Vision
วิสัยทัศน์
มุ่งสู่ความเป็นเลิศด้านการพิสูจน์ทราบและนำเสนอข้อมูลทางวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์ป่า เพื่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและชีวิตที่ดีขึ้น
To be an excellent center in scientific knowledge provider on wildlife health for better ecosystem and human well-being
Mission
พันธกิจ
ผลิตข้อมูลเพื่อนำไปใช้และการอ้างอิงด้านการป้องกันและแก้ไขภัยคุกคามด้านสุขภาพหนึ่งเดียว
Provide referencing data and information for preventing and solving One Health threats
พัฒนาและบริการตรวจวินิจฉัยโรคในสัตว์ป่า สัตว์ต่างถิ่น และสัตว์อพยพและสัตว์ชนิดอื่น
Develop and provide diagnostic services for diseases in wildlife, exotic animals and other species
สร้างสรรค์งานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ทางด้านสุขภาพหนึ่งเดียว
Conduct research to create body of knowledge in One Health
ดำเนินงานด้านระบาดวิทยาเพื่อแก้ไขป้องกันควบคุมโรคสำคัญในสัตว์ที่มีผลกระทบต่อสังคมและระบบนิเวศและเทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์
Carry out epidemiological tasks to solve, prevent and control important diseases in animals with impacts on society, ecosystem and scientific technology
พัฒนาศักยภาพบุคลากรและเทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์เพื่อตอบสนองต่อปัญหาด้านสุขภาพหนึ่งเดียว
Improve potentiality of human resources and scientific technology to respond One Health problems
เสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายด้านสุขภาพสัตว์ป่าทั้งในและต่างประเทศ
Strengthen both domestic and international One Health networks on wildlife health
Contact us
ช่องทางการติดต่อ
ที่อยู่
ศูนย์เฝ้าระวังและติดตามโรคจากสัตว์ป่า สัตว์ต่างถิ่นและสัตว์อพยพ
คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4 ตำบลศาลายา
อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
The Monitoring and Surveillance Center
for Zoonotic Diseases in Wildlife and Exotic Animals
Faculty of Veterinary Science, Mahidol University
999 Phuttamonthon 4 Road, Salaya,
Nakhon Pathom 73170, Thailand