- Faculty of Veterinary Science -

โรงพยาบาลปศุสัตว์และสัตว์ป่า ปศุปาลัน

ประวัติความเป็นมา

โรงพยาบาลปศุสัตว์และสัตว์ป่า ปศุปาลัน คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรีเป็นโรงพยาบาลสัตว์เพื่อการเรียนการสอนในสาขาวิชาเกี่ยวกับปศุสัตว์ สัตว์ป่าและสัตว์สวนสัตว์ และให้บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคแก่ปศุสัตว์ทั้งที่ใช้บริโภคและสัตว์เศรษฐกิจ เช่น วัว ควาย สุกร แพะ แกะ เป็ด ไก่ ปลา ฯลฯ สัตว์ป่า เช่น ช้าง เสือ หมี กระทิง ฯลฯ สัตว์ป่าเศรษฐกิจ เช่น กวาง นกสวยงาม จระเข้ ฯลฯ และสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัขและแมว

โดยได้เริ่มเปิดให้บริการตั้งแต่เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2547 โรงพยาบาลปศุสัตว์และสัตว์ป่า ปศุปาลัน จัดเป็นหนึ่งในสองโรงพยาบาลสัตว์ที่ขึ้นตรงกับคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีภารกิจหลักในการใช้เป็นสถานที่อบรมและปฏิบัติของนักศึกษาสัตวแพทย์ชั้นปีที่ 5 และ 6ในส่วนของคลินิกปฏิบัติสาขาวิชาเกี่ยวกับปศุสัตว์และสัตว์ป่า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในงานผลิตบัณฑิตทางด้านสัตวแพทย์ โรงพยาบาลปศุสัตว์และสัตว์ป่า ปศุปาลัน ถูกสร้างให้เอื้อต่องานปศุสัตว์และงานด้านสัตว์ป่า โดยจัดหาเครื่องมือทางการสัตวแพทย์สำหรับสัตว์ใหญ่และสัตว์ป่าอย่างครบครัน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

เวลาในการให้บริการ : วันจันทร์- ศุกร์ ตั้งแต่ เวลา 8.30- 16.30 น.

  • ชนิดสัตว์ที่ให้รักษาของหน่วยปศุสัตว์ เช่น โคเนื้อ โคนม แพะ แกะ หมู ไก่

    - สัตว์ป่า เช่น ช้าง เก้ง กวาง เสือ เป็นต้น

    - สัตว์เลี้ยง เช่น ม้า เป็นต้น

  • มีบริการรักษานอกสถานที่ โดยสามารถแจ้งมาทางโทรศัพท์หรือเดินทางมารับบริการจากทางโรงพยาบาลฯ
  • การให้บริการทางด้านการรักษา เจาะเลือด เช่น ตรวจโรคแท้งติดต่อ ฉีดวัคซีน ถ่ายพยาธิ ทั้งรายตัวและรายฝูง
    • วินิจฉัยโรค เช่น x-ray , ultrasound เป็นต้น
    • วางยาสลบสัตว์เพื่อการเคลื่อนย้าย
    • ผ่าตัดทางด้านปศุสัตว์ โดยมีห้องผ่าตัดที่ได้มาตรฐาน
    • มีที่พักสัตว์ป่วยสำหรับปศุสัตว์ สัตว์ป่า และม้า โดยเฉพาะ
    • ตัดแต่งกีบโคและม้า
    • บริการชันสูตรซาก
    • บริการให้คำปรึกษาด้านปศุสัตว์และสัตว์ป่า
  • Mobile Clinic รักษานอกสถานที่

หน่วยสัตว์เลี้ยง

เวลาในการให้บริการ : วันจันทร์- ศุกร์ ตั้งแต่ เวลา 8.30 - 16.30 น.

- ชนิดสัตว์ที่ให้รักษาของหน่วยสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข และแมว
- สัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษ ได้แก่ กระต่าย เต่า ตุ่น นกชนิดต่างๆ

สัตว์ป่วยใน

คลินิกปศุสัตว์และสัตว์ป่า

หน่วยสัตว์ป่วยในให้บริการรับฝากสัตว์ป่วยเพื่อการรักษาและวินิจฉัย รวมถึงสัตว์ที่มีความจำเป็นต้องได้รับยา สารน้ำ อาหารและการติดตามผลการรักษาแบบต่อเนื่อง โดยมีผู้ช่วยสัตวแพทยย์เป็นผู้มีหน้าที่ช่วยดูแลเรื่องอาหาร กรณีสัตว์ไม่สามารถเดินได้แเองหรือการให้อาหารแบบปกติ และน้ำกินตามที่แพทย์สั่ง ที่พักสัตว์ป่วยทั่วไปจะแบ่งออกเป็นในส่วนของสุนัขและแมว และยังมีการแยกในส่วนของสัตว์ป่วยที่ติดเชื้อด้วยเพื่อให้เกิดความสะดวกในการจัดการการรักษารวมถึงการควรคุมโรคซึ่งแต่ละตัวที่พักอยู่ในหน่วยสัตว์ป่วยในนี้จะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจและความจำเป็นจากการพิจารณาของสัตวแพทย์ที่ดูแลอาการป่วยอยู่หากสัตว์ป่วยมีอาการดีขึ้นและอยู่ในภาวะที่เจ้าของสัตว์สามารถดูแลต่อได้

สัตวแพทย์จะทำการแจ้งให้เจ้าของมารับสัตว์ป่วยเพื่อนำไปดูแลต่อที่บ้าน ในกรณีที่เจ้าของสัตว์มีความประสงค์มาทำการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมเพื่อประกอบพิจารณาอาการป่วย สามารถฝากไว้ในหน่วยนี้ได้เช่นกัน โดยจะมีสัตวแพทย์ให้การดูแลสัตว์ป่วยทุกวันอย่างใกล้ชิด

โรคที่พบบ่อยในหน่วยสัตว์ป่วยใน

  • โรคไข้หัดสุนัข
  • โรคลำไส้อักเสบ
  • แผลเรื้อรัง / แผลติดเชื้อ
  • ดูแลหลังการผ่าตัด
  • โรคไตวาย

หน่วยทัศนวินิจฉัย

หน่วยทัศนวินิจฉัยนี้ จะมีบริการตรวจสัตว์ป่วยด้วยเครื่องมือต่างๆ ได้แก่ เครื่องเอ็กซเรย์ เครื่องอัลตราซาวน์ เครื่องเอ็กซเรย์แบบเคลื่อนที่ เครื่องส่องตรวจ เพื่อใช้ประกอบการวินิจฉัยโรคทางอายุรกรรม

หน่วยห้องปฏิบัติการทางคลิกนิก

หน่วยห้องปฏิบัติการ โรงพยาบาลปศุสัตว์และสัตว์ป่า ปศุปาลัน เปิดให้บริการตรวจวินิจฉัยโรคทางห้องปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนการตรวจ รักษาโรคสัตว์แก่ประชาชน เกษตรกร ที่เข้ามารับบริการ นอกจากนี้ยังเป็นหน่วยงานสนับสนุนการเรียนการสอนของคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และสนับสนุนการวิจัยทางสัตวแพทยศาสตร์และสัตวศาสตร์ประยุกต์ หน่วยห้องปฏิบัติการประกอบไปด้วย 3 งานหลักคือ

1. ห้องปฏิบัติการชันสูตร ให้บริการ

  • ตรวจทางโลหิตวิทยาคลินิก(Clinical hematology)
  • ตรวจทางเคมีคลินิก(Clinical chemistry)
  • ตรวจทางปรสิตวิทยาคลินิก(Clinical parasitology)
  • ตรวจทางจุลทรรศนศาสตร์คลินิก(Clinical microscopic examination)
  • ตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะ(Urine analysis)
  • ตรวจโรคแท้งติดต่อ(Brucellosis antibodies test)
  • ตรวจวินิจฉัยโรคโดยชุดทดสอบ(Test kits)

2. ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ ให้บริการ

  • ตรวจวิเคราะห์โลหะหนักโดยเครื่อง flame atomic absorption spectrometer(AAS)
  • ตรวจวิเคราะห์องค์ประกอบน้ำนม
  • ตรวจวิเคราะห์โซมาติกเซลล์ในน้ำนม
  • ตรวจวิเคราะห์อาหารสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์

3. ห้องชันสูตรซาก ให้บริการ

  • ผ่าชันสูตรซากสัตว์
  • ทำลายซากสัตว์