- Faculty of Veterinary Science -

ประวัติความเป็นมา

ประวัติความเป็นมาของ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

โครงการจัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์ (Faculty of Veterinary Science) เป็นโครงการจัดตั้งหน่วยงานใหม่ระดับคณะ ที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาระดับอุดมศึกษา ระยะที่ 7 (พ.ศ. 2538-2539) และระยะที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544) ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีศาสตราจารย์สมพล พงศ์ไทย ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์ฯ และศาสตราจารย์นายสัตวแพทย์พีระศักดิ์ จันทรประทีป ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ สังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอยู่ในขณะนั้น ได้รับการแต่งตั้งจากอธิการบดี ให้มาดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษามหาวิทยาลัยมหิดล ด้านการจัดการเรียนการสอนและการจัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์ ตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม 2539- 16 พฤษภาคม 2541

การดำเนินงานของโครงการจัดตั้งฯ ได้เริ่มต้นขึ้นด้วยการจัดทำหลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิตและวิทยาศาสตรบัณฑิต(สัตวศาสตร์ประยุกต์) โดยความรับผิดชอบจากคณะอนุกรรมการจัดทำหลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิตและวิทยาศาสตรบัณฑิต(สัตวศาสตร์ประยุกต์) ซึ่งมีอาจารย์พีระศักดิ์ จันทรประทีป เป็นประธานอนุกรรมการจัดทำหลักสูตรฯ ซึ่งทบวงมหาวิทยาลัยได้พิจารณารับทราบให้ความเห็นชอบหลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต(หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2541) เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2541 รวมทั้งการดำเนินการขอจัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์ขึ้นจนสำเร็จโดยทบวงมหาวิทยาลัยอนุมัติให้จัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์เป็นสำนักงานคณบดีตามหนังสือทบวงมหาวิทยาลัยที่ ทม0204(3)/5875 ลงวันที่ 14 มีนาคม 2540 และได้ประกาศให้เป็นคณะสัตวแพทยศาสตร์ในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยมหิดลทบวงมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2540 ตามราชกิจจานุเบกษา เล่ม 114 ตอนที่ 52 ก. ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2540

จนกระทั่งเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2541 ทางคณะสัตวแพทยศาสตร์ ได้รับความช่วยเหลือจากผู้ช่วยศาสตราจารย์นายสัตวแพทย์ปานเทพ รัตนากร ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกสมาคมสัตวแพทย์ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์แห่งประเทศไทยอยู่ในขณะนั้น มาช่วยราชการในส่วนของการบริหารภายในคณะฯ และได้รับช่วงดำรงตำแหน่งรักษาราชการแทนคณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2541 และ วันที่ 17 มีนาคม 2542 สภามหาวิทยาลัยมหิดล ได้มีคำสั่งแต่งตั้ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายสัตวแพทย์ปานเทพ รัตนากร ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล จึงถือได้ว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ปานเทพ รัตนากร เป็นคณบดีคนแรกของคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลเมื่อปี 2542 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่คณะสัตวแพทยศาสตร์ได้มีนักศึกษาสาขาสัตวแพทยศาสตร์รุ่นแรก

ปัจจุบันคณะสัตวแพทยศาสตร์ประกอบด้วยอาคารทั้งสิ้น 2 อาคาร คืออาคารเรียนและปฏิบัติการรวมด้านสัตวศาสตร์และสัตวแพทยศาสตร์ ซึ่งเป็นอาคาร 9 ชั้นเพื่ออำนวยความสะดวกในด้านการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษารวมถึงสำนักงานคณบดีด้วย และยังมีอาคารเรียนและปฏิบัติการรวมด้านคลินิกสัตวแพทย์และสัตวศาสตร์ประยุกต์ หรือโรงพยาบาลสัตว์เพื่อประโยชน์ในด้านการเรียนการสอนภาคปฏิบัติสำหรับนักศึกษาและบริการทางวิชาการแก่สังคมต่อไป นอกจากนี้คณะสัตวแพทยศาสตร์ยังมีการก่อสร้างอาคารเรียนและปฏิบัติการรวมทางด้านสัตวแพทยศาสตร์ด้านปศุสัตว์และสัตว์ป่า ณ กาญจนบุรี ซึ่งมีกำหนดแล้วเสร็จภายในสิ้นปี พ.ศ. 2546 class in 1999

ลำดับเหตุการณ์

  • 17 พฤษภาคม 2539
    โครงการจัดตั้งหน่วยงานใหม่ระดับคณะ ที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาระดับอุดมศึกษา ระยะที่ 7 (พ.ศ. 2538-2539) และระยะที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544) ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีศาสตราจารย์สมพล พงศ์ไทย ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์ฯ และศาสตราจารย์นายสัตวแพทย์พีระศักดิ์ จันทรประทีป ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ สังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอยู่ในขณะนั้น ได้รับการแต่งตั้งจากอธิการบดี ให้มาดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษามหาวิทยาลัยมหิดล ด้านการจัดการเรียนการสอนและการจัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์ ตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม 2539- 16 พฤษภาคม 2541
  • 14 มีนาคม 2540
    อนุมัติให้จัดตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์ เป็นสำนักงานคณบดี ตามหนังสือทบวงมหาวิทยาลัยที่ ทม0204(3)/5875 ลงวันที่ 14 มีนาคม 2540
  • 2 ตุลาคม 2540
    ได้ประกาศให้เป็นคณะสัตวแพทยศาสตร์ในพระราชกฤษฎีกา จัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยมหิดล ทบวงมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2540 ตามราชกิจจานุเบกษา เล่ม 114 ตอนที่ 52 ก. ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2540
  • 30 มกราคม 2541
    ได้เริ่มต้นขึ้นด้วยการจัดทำหลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิตและวิทยาศาสตร บัณฑิต (สัตวศาสตร์ประยุกต์) โดยความรับผิดชอบจากคณะอนุกรรมการจัดทำหลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิตและวิทยา ศาสตรบัณฑิต (สัตวศาสตร์ประยุกต์) ซึ่งมีอาจารย์พีระศักดิ์ จันทรประทีป เป็นประธานอนุกรรมการจัดทำหลักสูตรฯ ซึ่งทบวงมหาวิทยาลัยได้พิจารณารับทราบให้ความเห็นชอบหลักสูตรสัตวแพทยศาสตร บัณฑิต (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2541)
  • 17 มีนาคม 2542
    จนกระทั่งเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2541 ทางคณะสัตวแพทยศาสตร์ ได้รับความช่วยเหลือจากผู้ช่วยศาสตราจารย์นายสัตวแพทย์ปานเทพ รัตนากร ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกสมาคมสัตวแพทย์ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์แห่งประเทศ ไทยอยู่ในขณะนั้น มาช่วยราชการในส่วนของการบริหารภายในคณะฯ และได้รับช่วงดำรงตำแหน่งรักษาราชการแทนคณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2541 และ เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2542 สภามหาวิทยาลัยมหิดล ได้มีคำสั่งแต่งตั้ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายสัตวแพทย์ปานเทพ รัตนากร ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงถือได้ว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ปานเทพ รัตนากร เป็นคณบดีคนแรกของคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อปี 2542
  • 18 เมษายน 2545
    ก่อสร้างอาคารเรียนและปฏิบัติการรวมทางด้านสัตวศาสตร์และสัตวแพทยศาสตร์แล้วเสร็จเพื่อใช้เป็นสถานที่จัดการเรียนการสอนพื้นฐานวิชาชีพทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติของนักศึกษาสัตวแพทย์ และเป็นสถานที่ตั้งสำนักงานคณบดี
  • 5 มกราคม 2547
    โรงพยาบาลสัตว์ประศุอาทร เปิดให้บริการตรวจรักษาโรคสัตว์ และเป็นสถานที่สำหรับฝึกปฏิบัติด้านการบำบัดรักษาของนักศึกษาสัตวแพทย์
  • กรกฎาคม 2547
    เปิดให้บริการตรวจวินิจฉัยโรคสัตว์ ณ อาคารเรียนและปฏิบัติการรวมทางด้านคลินิกสัตวแพทยศาสตร์ด้านปศุสัตว์และสัตว์ป่าวิทยาเขตกาญจนบุรี และเป็นสถานที่ฝึกปฏิบัติของนักศึกษาสัตวแพทย์ในส่วนของคลินิกปฏิบัติสาขาวิชาเกี่ยวกับปศุสัตว์และสัตว์ป่า
  • 3 ตุลาคม 2549
    สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารเรียนและปฏิบัติการรวมด้านสัตวศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ คลินิกสัตวแพทย์ และสัตวศาสตร์ประยุกต์ ณ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
  • 2 เมษายน 2557
    สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จมายังคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อทอดพระเนตรและซักถามการดำเนินงานของคณะฯ โรงพยาบาลสัตว์ประศุอาทร และห้องปฏิบัติการวิจัยทางการสัตวแพทย์ความปลอดภัยทางชีวภาพระดับที่ 3
  • 10 สิงหาคม 2560
    ก่อสร้างอาคารวิจัยและปฏิบัติการทดสอบโรคติดต่ออุบัติใหม่จากสัตว์สู่คน ณ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรีแล้วเสร็จ เพื่อใช้เป็นสถานที่ศูนย์กลางการเรียนการสอนและการศึกษาค้นคว้าวิจัยทางด้านโรคติดต่ออุบัติใหม่จากสัตว์สู่คน