หัวข้อ | รายละเอียด |
---|---|
ชื่อหลักสูตรภาษาไทย | หลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทางการสัตวแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ) |
ชื่อหลักสูตรภาษาอังกฤษ | Doctor of Philosophy Program in Veterinary Science (International Program) |
ชื่อปริญญาภาษาไทย | ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต (วิทยาศาสตร์ทางการสัตวแพทย์) ชื่อย่อ : ปร.ด. |
วิชาเอก (เปิดสอน 4 วิชาเอก) | 1. เวชศาสตร์สัตว์เลี้ยงเป็นเพื่อน (Companion Animal Medicine) 2. เวชศาสตร์การผลิต (Production Medicine) 3. พยาธิวิทยา (Pathology) 4.วิทยาการระบาด (Epidemiology) |
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร |
แบบ 2 ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์ แบบ 2.2 ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ไม่น้อยกว่า 74 หน่วยกิต |
รูปแบบของหลักสูตร |
1. รูปแบบ : หลักสูตรระดับปริญญาเอก 2. ภาษาที่ใช้ : ภาษาอังกฤษ 3. การรับเข้าศึกษา : รับทั้งนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ 4. ความร่วมมือกับสถาบันอื่น : เป็นหลักสูตรของมหาวิทยาลัยมหิดลโดยเฉพาะ 5. การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา : ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว |
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา |
1. สัตวแพทย์ชำนาญการ 2. ผู้เชี่ยวชาญหรือนักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ทางการสัตว์แพทย์ 3. ที่ปรึกษาองค์กรที่เกี่ยวข้องด้านวิทยาศาสตร์ทางการสัตวแพทย์ |
หัวข้อ | รายละเอียด |
---|---|
ปรัชญาของหลักสูตร | หลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทางการสัตวแพทย์ มุ่งผลิต ดุษฎีบัณฑิตให้เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพสัตวแพทย์และการวิจัยที่มีความรอบรู้ ทั้งในทางกว้างและทางลึก มีทักษะด้านการคิดวิเคราะห์และการคิดแบบสร้างสรรค์ เป็นแบบอย่างที่ดีมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีคุณธรรม จริยธรรมและ จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ สามารถบูรณาการและสังเคราะห์องค์ความรู้ใหม่ โดย การประสานและประยุกต์วิชาการสัตวแพทยศาสตร์ และศาสตร์แขนงอื่นๆ ในการแก้ไขปัญหาที่มีความซับซ้อน เพื่อประโยชน์สุขแก่มนุษย์ สัตว์และสิ่งแวดล้อม ด้วยแนวทางสุขภาพหนึ่งเดียว |
จุดเด่นของหลักสูตร | รับเฉพาะนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก โดยมุ่งเน้นให้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะสาขาในวิชาชีพการสัตวแพทย์ และเมื่อสำเร็จการศึกษาในหลักสูตรดังกล่าว บัณฑิตจะพร้อมพัฒนาต่อยอดไปเป็นสัตวแพทย์ชำนาญการได้ |
วัตถุประสงค์ |
เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแล้ว ดุษฏีบัณฑิตจะมีความรู้ความสามารถดังนี้ 1. คุณธรรม จริยธรรม และมีภาวะผู้นำในการประพฤติ ปฏิบัติตามมาตรฐานจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพการสัตวแพทย์ 2. มีความรู้และสามารถบูรณาการความรู้ทางวิชาการและวิชาชีพเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่และพัฒนางานวิจัยในการต่อยอดเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการสัตวแพทย์ 3. วิเคราะห์ วิจารณ์ เขียนโครงการวิจัย โดยเลือกใช้วิธีการวิจัยและออกแบบการทดลองเพื่อทดสอบสมมติฐานตามหลักจรรยาบรรณการใช้สัตว์ เพื่อให้ได้ผลสรุปที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ มนุษย์ สัตว์และสิ่งแวดล้อม 4. มีความรับผิดชอบ มีมนุษยสัมพันธ์ การแสดงออกและการปฏิสัมพันธ์ที่ดี เป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างเหมาะสม สามารถทำงานกับผู้อื่นได้อย่างมีประสทิธิภาพ 5. มีทักษะในการสื่อสารเพื่อเผยแพร่และนำเสนอองค์ความรู้ โดยประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสมและทันสมัย 6. มีความเชี่ยวชาญในการทำหัตถการขั้นสูงทางด้านสัตวแพทย์ |
หัวข้อ | รายละเอียด |
---|---|
ระบบการจัดการศึกษา |
1. ระบบ : ใช้ระบบการจัดการศึกษาแบบหน่วยกิตระบบทวิภาค 2. การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน : ไม่มี 3. การเทียบเคียงหน่วยกิตในระบบทวิภาค : ไม่มี |
ระยะเวลาที่ศึกษาตามแผนการศึกษา | 5 ปี |
การดำเนินการหลักสูตร |
1. วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน จัดการเรียนการสอนในวัน-เวลาราชการ 2. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา 2.1 สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสัตวแพทยศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยในประเทศหรือต่างประเทศ ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง 2.2 ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.50 2.3 มีประสบการณ์ทางวิชาชีพสัตวแพทย์ ไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือได้รับการเพิ่มพูนทักษะทางคลินิกอย่างเป็นระบบ (internship) 2.4 ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ชั้นหนึ่ง จากสภาวิชาชีพ 2.5 ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษาตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย |
หัวข้อ | รายละเอียด |
---|---|
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร | ไม่น้อยกว่า 74 หน่วยกิต |
โครงสร้างหลักสูตร |
จัดการศึกษาตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.2548
หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.2548 หลักสูตรปริญญาเอกแบบ 2 ดังนี้ (1)หมวดวิชาปรับพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต (2)หมวดวิชาแกน 8 หน่วยกิต (3)หมวดวิชาบังคับ 12 หน่วยกิต (4)หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต (5)วิทยานิพนธ์ 48 หน่วยกิต รวมไม่น้อยกว่า 74 หน่วยกิต |
โครงการวิจัยของหลักสูตร |
แนวทางการทำวิจัยของหลักสูตรมีดังนี้ (1)ระบาดวิทยาและปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการเกิดโรคในสัตว์ (2)พยาธิกำเนิดของโรค (3)การพัฒนาเทคนิค การตรวจวินิจฉัยโรคและความผิดปกติในสัตว์ (4)ประสิทธิภาพการผลิตโคนมในเขตร้อนชื้น (5)การตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการพยาธิวิทยา (6)เวชศาสตร์ในม้ากีฬา (7)สุขภาพหนึ่งเดียว |