ศูนย์เฝ้าระวังและติดตามโรคจากสัตว์ป่าสัตว์ต่างถิ่นและสัตว์์อพยพ

ทำหน้าที่เป็นศูนย์แม่ข่ายในการเฝ้าระวังและเตือนภัยโดยประสานงานกับเครือข่ายภูมิภาคต่างๆซึ่งจะมีทีมสำรวจโรคภาคสนาม สามารถดำเนินการสำรวจและเฝ้าระวังโรคในพื้นที่เสี่ยงต่างๆอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง

ประวัติความเป็นมาศูนย์เฝ้าระวังฯ

     จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนกในสัตว์ปีอย่างรุนแรงหลายพื้นที่ของประเทศไทยในปี 2547 และจากแนวโน้มการเกิดโรคอุบัติใหม่ที่มีต้นกำเนิดจากสัตว์โดยเฉพาะสัตว์ป่า และสัตว์อพยพ เช่น โรคไข้สมองอัเสบนิปปาห์ คณะสัตวแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้ร่วมมือกับ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดทำโครงการเฝ้าระวังและติดตามโรคจากสัตว์ป่า สัตว์ต่างถิ่นและสัตว์อพยพ เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและควบคุมการระบาดของโรคไข้หวัดนกและโรคอื่นๆ อันเนื่องมาจากสัตว์ป่าสัตว์ต่างถิ่นและสัตว์อพยพ ซึ่งอาจเป็นพาหะนำโรคที่ก่อให้เกิดความเสียหายดังเช่นที่ผ่านมา โครงการดังกล่าวได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมณตรีแล้วเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2547 ต่อมาในปีงบประมาณ 2548 คณะฯได้จัดตั้ง "ศูนย์เฝ้าระวังและติดตามโรคจากสัตว์ป่า สัตว์ต่างถิ่นและสัตว์อพยพ" ขึ้นเป็นหน่วยงานในสังกัดคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

     โดยทำหน้าที่เป็นศูนย์แม่ข่ายในการเฝ้าระวังและเตือนภัย โดยประสานงานกับเครือข่ายภูมิภาคต่างๆมีการคัดเลือกบุคลากรเพื่อปฏิบัติงานประจำศูนย์ฯ และจัดหาครุภัณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ที่มีความจำเป็นเรงด่วนและจัดสร้าง "ห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยระดับ 2.5" สำหรับตรวจหาเชื้อที่มีความรุนแรงระดับปานกลาง และได้ดำเนินการเก็บตัวอย่างตรวจจากนกที่อยู่ตามธรรมชาติและที่อยู่ในพื้นที่ครอบครองของเอกชนมาทำการตรวจวิเคราะห์หาเชื้อโรคอย่างต่อเนื่อง และในปีงบประมาณ 2549 ได้ดำเนินการพัฒนา "ห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยระดับ 3" พร้อมจัดหาครุภัณฑ์และอุปกรณ์ประจำห้อง เพื่อให้มีศักยภาพรองรับการทดลอง ทดสอบ และวิจัยเชื้อโรคไข้หวัดนก และโรคระบาดหรือโรคที่มีความรุนแรงสูงอื่นๆ จากสัตว์ได้ และได้พัฒนาเทคนิคการตรวจหาเชื้อโรคสัตว์ติดคน,โรคอุบัติใหม่ในมนุษย์และในสัตว์ที่ประเทศไทยมีโอกาสเสี่ยง เช่น เชื้อ West Nile virus เชื้อ Psittacines Beak and Feather Disease และ Avian polyoma virus ในนก และเชื้อ Elephent endothelial herpes virus ในช้างเลี้ยง ซึ่งทางศูนย์ฯได้มีการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่องและจัดตั้งเป็นทีมงานทางห้องปฏิบัติการ และทีมสำรวจโรคภาคสนามให้สามารถดำเนินการสำรวจและเฝ้าระวังโรคในพื้นี่เสี่ยงต่างๆอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง

อัตราค่าบริการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการศูนย์เฝ้าระวังฯ

อัตราค่าบริการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ (ฉบับปรับปรุงวันที่ 15 มี.ค. 2564)

คู่มือ

คู่มือการเก็บตัวอย่าง

SamplingGuide.pdf

การใช้อุปกรณ์สำหรับดักจับนกและค้างคาวเพื่อการศึกษาวิจัย

Using a device for trapping birds and bats for research.pdf

แบบฟอร์ม

แบบฟอร์มส่งตัวอย่าง

Sample Submission Form 2018.pdf

ตัวอย่างการกรอกแบบฟอร์์มส่งตัวอย่าง

Sample forms to submit samples 2018.pdf

ที่อยู่

คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เลขที่ 999 ถ.พุทธมณฑลสาย4 ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170

หมายเลขติดต่อ

คณะสัตวแพทยศาสตร์ : 02-441-5242
โรงพยาบาลสัตว์ประศุอาทร : 02-441-5245-6
โรงพยาบาลปศุสัตว์และสัตว์ป่า ปศุปาลัน : 034-585-101-3
โทรสาร : 02-441-0937

© 2020 Mahidol University Faculty of Veterinary Science - All Rights Reserved